Posts Tagged ‘MPC’

สืบเนื่องจากบทความที่แล้วเรื่องอัตราส่วนการบริโภคของชาวไทย จากโมเดล Y = 1646.4454 + 0.6966(X) เราได้ทราบกันว่าอัตราการออมของชาวไทยนั้นมีแนวโน้มวิ่งเข้าใกล้ 30% ต่อรายได้ต่อเดือน หากปริมาณรายได้นั้นเพิ่มขึ้น
ทีนี้ผมมีความสงสัยอยากรู้มากยิ่งขึ้นถึงอัตราการออมของคนในพื้นจังหวัดที่ตนเองอาศัยอยู่ว่ามีอัตราการออมเดียวกันไหม จึงได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมครับ
ก่อนไปถึงจังหวัดที่ผมอาศัยอยู่ลองมาวัดอัตราส่วนการบริโภคของชาว กทม. กันดูก่อนครับ
โมเดลอัตราส่วนการบริโภคของชาว กทม. ที่ผมคำนวนได้คือ Y = 5334.2149 + 0.5644(X)
โดยที่ Y คือ อัตราค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือนของประชากร ซึ่งจะผันแปลตามตัวแปล X
โดยที่ X คือ อัตรารายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือนของประชากร
มาดูกราฟกันครับ

#คำสั่งภาษาไทยธอน
กราฟของฉัน = สร้างกราฟ("แบบจำลองอัตราส่วนการบริโภค\nของประชากรชาวกทม.",(640,480))
X = [16918,21550,26054,26909,29589,29843,36658,39020,42380] #อัตรารายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือนของประชากรชาวกทม.
Y = [14125,17846,20780,20448,21919,22982,25749,25615,30334] #อัตราค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือนของประชากรชาวกทม.
กราฟของฉัน.พล็อต(X,Y,สี=(255,0,0),สัญลักษณ์=0)
กราฟของฉัน.ตั้งชื่อแกนเอ็กซ์("รายได้เฉลี่ยต่อเดือน")
กราฟของฉัน.ตั้งชื่อแกนวาย("ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน")
กราฟของฉัน.ใส่เส้นตาราง()
b1 = 5334.2149
b2 = 0.5644
แบบจำลอง = คำสั่งย่อ x:b1 + b2*x
Z = []
แต่ละ ตัวข้อมูล ใน X:
Z.ต่อด้วย(แบบจำลอง(ตัวข้อมูล))

กราฟของฉัน.พล็อต(X,Z,สี=(0,255,0))

อ่านต่อ…

จากบทความที่ผ่านมาเรื่อง Anchoring ทำให้เราค้นพบกันว่า การยึดติดกับข้อมูลตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไปนั้นทำให้การตัดสินใจของเรามีอคติเจอปนอยู่ได้มาก อันที่จริงแล้วยังมีอคติอีกหลาย ๆ ประเภทแต่ขออนุญาติละเอาไว้ก่อน หากมีโอกาสจะทะยอยนำมาเสนอให้อ่านกันครับ
และจากที่มีเพื่อน ๆ หลายคนถามกันมาว่าผมมีวิธีในการกะเกณฑ์คาดเดาเรื่องต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว ผ่านเครื่องไม้เครื่องมีทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
วันนี้เลยขอเสนอเรื่องเกี่ยวกับการชี้วัดทางคณิตศาสตร์ ซึ่งอาจช่วยให้เราใช้เป็นตัวเลือกประกอบการตัดสินใจ หรือแม้แต่สามารถนำมาใช้พยากรณ์เหตุการณ์ต่าง ๆ โดยหลีกเลี่ยงการเอาอคติเข้ามาเจอปนครับ

โดยข้อมูลที่จะทำการศึกษากันในวันนี้ผมขอเลือกใช้ อัตรารายได้และอัตราค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือนของประชากรชาวไทยครับ
เนื่องจากสมมุติฐานที่ว่า “อัตราค่าใช้จ่ายนั้นจะผันแปรตามอัตรารายได้ของเรา” จะให้ผลเป็นสมการเชิงเส้น ซึ่งง่ายต่อการศึกษาวิเคราะห์กันครับ

ข้อมูลดิบ "อัตรารายได้และอัตราค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือนของประชากรชาวไทย"
ปีพ.ศ.      2537    2539    2541    2543    2545    2547    2549    2550    2552
รายได้      8,262      10,779      12,492      12,150      13,736      14,963      17,787      18,660      20,904
ค่าใช้จ่าย      7,567      9,190      10,389      9,848      10,889      12,297      14,311      14,500      16,205

จากข้อมูลดิบเหล่านี้หากเรานำมาพล็อตเป็นกราฟจะเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้ชัดเจนขึ้นครับ

** ใช้โปรแกรมภาษาไทยธอนเวอร์ชั่น 1.11 ขึ้นไป ดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ

#คำสั่งภาษาไทยธอน
กราฟของฉัน = สร้างกราฟ("แบบจำลองอัตราส่วนการบริโภค\nของประชากรชาวไทย",(640,480))
X = [8262,10779,12492,12150,13736,14963,17787,18660,20904] #อัตรารายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือนของประชากรชาวไทย
Y = [7567,9190,10389,9848,10889,12297,14311,14500,16205] #อัตราค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือนของประชากรชาวไทย
กราฟของฉัน.พล็อต(X,Y,สี=(255,0,0),สัญลักษณ์=0)
กราฟของฉัน.ตั้งชื่อแกนเอ็กซ์("รายได้เฉลี่ยต่อเดือน")
กราฟของฉัน.ตั้งชื่อแกนวาย("ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน")
กราฟของฉัน.ใส่เส้นตาราง()


อ่านต่อ…