Anchoring หรือ การผูกติด เป็นคำศัพท์ทางจิตวิทยา ถูกคิดขึ้นครั้งแรกโดย Amos Tversky และ Daniel Kahneman มีความหมายถึงอคติของมนุษย์ที่มักไปผูกติดกับข้อมูลบางอย่างมากจนเกินไป มักเกิดขึ้นเมื่อเราใช้สามัญสำนึกไปตัดสินใจในเรื่องใด ๆ โดยปราศจากการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน

ตัวอย่างแรกในการทดลอง “การผูกติด” นี้ ผู้ทดลองได้ตั้งคำถามขึ้นมาว่ามีชนชาติอาฟริกันจำนวนเท่าใดในสหรัฐอเมริกา  ผู้เข้าร่วมการทดลองที่ถูกตั้งคำถามต่อว่า “มากหรือน้อยกว่า 10 %” มักจะตอบอยู่ในค่าเฉลี่ยที่ 25%
ส่วนผู้เข้าร่วมการทดลองที่ถูกตั้งคำถามต่อว่า “มากหรือน้อยกว่า 65 %” มักจะให้ตอบอยู่ในค่าเฉลี่ยที่ 45%

ตัวอย่าง ในการทดลองที่สอง ผู้เข้าร่วมการทดลองจะถูกขอให้เขียนเลขท้ายสองตัวหลังของบัตรประกันสังคม จากนั้นผู้เข้าร่วมการทดลองก็ถูกขอให้ประมูลสิ่งของที่ตนเองไม่รู้มูลค่า เช่น ไวน์ ช็อคโกแล็ต หรือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ผลปรากฎว่า ผู้ที่มีเลขท้ายสองตัวหลังของบัตรประกันสังคมที่สูง ๆ จะให้มูลค่าประมูลสูงกว่าผู้ที่มีเลขท้ายสองตัวหลังของบัตรประกันสังคมต่ำ ๆ ถึง 60-120%

ความผิดปกติเหล่านี้ เกิดจาก “การผูกติด” นั่นเองครับโดยในการทดลองแรก ผู้เข้าร่วมทดลองไปผูกติดกับคำถาม ที่ถามนำ ส่วนการทดลองหลัง ผู้เข้าร่วมทดลองดันไปผูกติดกับหมายเลขประกันสังคมของตัวเองซึ่งไม่ได้ เกี่ยวอะไรกับมูลค่าของ สิ่งของที่ใช้ประมูลเลย

ตัวอย่างการผูกติด นี้เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้บ่อย ๆ แต่บางครั้งถ้าเราเอาการผูกติดนี้มาใช้ประเมินสถานการณ์สำคัญ ๆ อย่างการลงทุนนั้น อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้อย่างมหาศาล


ตัวอย่าง ที่ผมพึ่งเจอมาจาก การผูกติดในการลงทุนอย่างสด ๆ ร้อน ๆ เมื่อเร็ว ๆ นี้คือ ช่วงนี้มีคนมาถามเยอะมากว่า “หุ้นตกแล้ว เข้าซื้อเลยดีไหม”
อัน ที่จริงผมไม่ได้คิดว่าการลงทุนเฉลี่ยต้นทุนจะเป็นวิธีที่ไม่ดีอะไร เพียงแต่ การตัดสินใจลงทุนนั้นต้องมาจากการวิเคราะห์อย่างรอบคอบแล้วเท่านั้น ไม่ใช่ลงทุนจากการที่เราจะเอาอคติการการผูกติดนี้มาใช้

ปรากฎการณ์นี้เกิด ขึ้นเมื่อ หลังจากปรากฎการณ์ January Effect เกิดขึ้นมาได้ไม่นาน ดัชนีหุ้นไทยขึ้นไปถึงราว ๆ  1050 จุด หลังจากนั้นก็ปรับฐานตกลงมาถึงราว ๆ 30 จุด เป็นการตกลง ถึง30 จุดภายในวันเดียว ก่อนจะทำการรีบาวน์จากจุดต่ำสุดของวันเล็กน้อย อันที่จริงแล้วการปรับฐานหลังจากที่ดัชนีพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นเป็นเรื่องธรรมดามากในตลาดหุ้น
และตอนที่มันตกแรง ๆ นี่เองที่เริ่มเห็นชาวสวนบางท่าน กระตือรือล้นรีบเตรียมการที่จะเข้าซื้อ

อนิจจา หุ้นตก กับ หุ้นถูก นั้น มีความแตกต่างกันอยู่ไม่น้อย
หาก เราลองพิจารณาดูให้ดี ลองมองดูภาพที่ใหญ่ขึ้น การตกของดัชนีจากประมาณ 1050 มาที่ประมาณ 1020 หรือราว ๆ -2.85% นั้นเทียบไม่ได้เลยกับการที่ ดัชนี set ไต่ขึ้นมาจาก 736.66 เมื่อต้นปีที่แล้ว ดังนั้นคนที่ซื้อหุ้นขาขึ้นเมื่อปีที่แล้วจะมีกำไรและมีต้นทุนที่ต่ำกว่าคน ที่รอซื้อเฉพาะตอนที่หุ้นกำลังตกมาก มาถึงตอนนี้เรายังไม่ได้พิจารณาถึงหุ้นรายตัวสำหรับลงทุน หรือ การตรวจหามูลค่ากันเลย ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญมาก แต่ในบทความนี้ผมอยากจะสื่อ ว่าหากท่านเลือกเข้าซื้อเพียงเพราะหุ้นตกลงมานั้น ท่านกำลังเป็นเหยื่อของ การผูกติดกับราคา new high เข้าให้แล้ว

ขอย้ำอีกครั้งว่าผมไม่ได้คิดว่าการซื้อหุ้นตอนหุ้นตกจะเป็นวิธีที่ไม่ดีอะไร เพราะผมเองก็ใช้เป็นโอกาสในการปรับพอร์ตอยู่บ้างเหมือนกัน
ส่วนคำแนะนำของผมในการเข้าซื้อโดยหลีกเลี่ยงการเอาอคติเข้ามาเจอปนก็คือ “ซื้อเมื่อเห็นว่าราคาเหมาะสม”ครับ จะเหมาะสมหรือไม่อย่างไรขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลอีกชั้นหนึ่ง

ช่วงนี้มีคนเข้ามาถามเรื่องทำนองนี้กันมากเลยครับ ที่จริงช่วงหลัง ๆ มานี้ผมไม่ค่อยจะได้เข้ามาเขียนบทความใหม่ ๆ เลย แต่ช่วงนี้ต้องขอเขียนบ่อยหน่อยด้วยความเป็นห่วงครับ

สุดท้ายนี้ขอฝากพิชัยยุทธ์ซุนวู ฉบับนักลงทุนผู้เฉียบแหลมไว้อีกเช่นเคยครับ

ซุนวู ตื้นลึกหนาบาง บทที่ 6
ผู้ สันทัดการรบ จึงกระทำต่อผู้อื่นใช่ถูกผู้อื่นกระทำ ที่สามารถทำให้ข้าศึกมาเอง ก็เพราะล่อด้วยประโยชน์  การเผยรูปลักษณ์ชั้นเลิศ นั้นปราศจากเค้าเงื่อน เมื่อปราศจากเค้าเงื่อน จารชนที่แฝงตัวก็มิอาจรู้เห็น ผู้มีสติปัญญาก็มิอาจใช้อุบาย การรบไม่มีรูปลักษณ์ตายตัว
SI นายตลาดและข่าววงใน
นักลงทุนผู้เฉียบ แหลม จะรู้จักใช้ประโยชน์จาก นายตลาด ไม่ใช่ถูก นายตลาด ชี้นำ ไม่เชื่อในข่าวลือหรือ ข่าววงใน เพราะอีกฝ่ายอาจใช้กลล่อด้วยประโยชน์ พึงระวังว่า นายตลาด นั้นไม่มีรูปลักษณ์ตายตัว เคลื่อนไหวปราศจากเค้าเงื่อน แม้แต่ผู้มีสติปัญญาก็อาจออกอุบายเพื่อเอาชนะได้ยาก

อ้างอิง http://en.wikipedia.org/wiki/Anchoring

Comments
  1. […] Anchoring ทำให้เราค้นพบกันว่า […]

Leave a comment