มีเพื่อน ถามมาถึงพฤติกรรมการถัวเฉลี่ยราคาของนักลงทุนเวลาที่หุ้นมันลงมาเรื่อย ๆ ว่ามีความเกี่ยวข้อง และ สามารถอธิบายในทาง Behavioral finance ได้อย่างไร

ขอตอบว่า
วิธีถัวเฉลี่ยถ้าใช้ให้ถูกวิธีจะเป็นคุณมากกว่าโทษ
ในขณะที่ผู้ที่ศึกษา finance หรือ economic มาโดยตรงมักจะไม่สนับสนุนวิธี DCA เพราะเห็นว่าเป็นวิธีที่ไร้เหตุผล
แต่ผู้ที่ศึกษา behavioral finance ส่วนใหญ่จะสนับสนุนการใช้ DCA เพราะจะช่วยลบเจตคติที่โอนเอียงของนักลงทุนได้

ตัวอย่าง การถัวเฉลี่ยตามแนวคิดของ behavioral finance (ภาษาอังกฤษ)

http://knol.google.com/k/the-merits-of-dollar-cost-averaging-dca#
http://www.yorku.ca/milevsky/Papers/WP2001C.pdf
http://personal.fidelity.com/products/funds/content/pdf/dollar_cost_averaging_bear_market_solution_update.pdf

แต่อย่างไรก็ดีการถัวเฉลี่ยโดยผิดหลักการอาจสร้างความเสียหายอย่างมากมายแก่นักลงทุนได้
วันนี้เราลองมาอธิบายพฤติกรรมการถัวเฉลี่ยในทาง ทฤษฎีกันดู
เริ่มจากแนวพฤติกรรม
จิตวิทยา สายที่ศึกษาทางพฤติกรรม มักจะมองว่ากระบวนการ(process)ภายในจิตใจเป็นเหมือน กล่องดำ(Black box)ซึ่งจะแกะออกดูภายในไม่ได้ ดังนั้น เราจะสนใจแต่ input หรือสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นกับตัวบุคคล กับ output หรือปฎิกิริยาที่เกิดจากสิ่งเร้า เท่านั้น

ยกตัวอย่าง
สายพฤติกรรม

Case A
input => process(blackbox) => output
หุ้นตก => blackbox => ซึ้อถัวเฉลี่ย
หุ้นตกอีก => blackbox => ซึ้อถัวเฉลี่ย
หุ้นขึ้น => blackbox => ขาย

Case B
หุ้นตก => blackbox => cutlost
หุ้นตกอีก => blackbox => ซึ้อกลับ
หุ้นขึ้น => blackbox => ขาย

Case C
หุ้นตก => blackbox => ซึ้อถัวเฉลี่ย
หุ้นตกอีก => blackbox => ขายขาดทุน
หุ้นขึ้น => blackbox => ซื้อคืน

สายที่มอง input กับ output จะจัดประเภทคนประมาณนี้ ที่จริงต้องมีหลากหลายกว่านี้มาก แต่ลองยกตัวอย่างดูคร่าว ๆ

Case A
จะเป็นคนที่ชอบถัวเฉลี่ยยิ่งตกยิ่งซื้อ จะขายเฉพาะกำไรเท่านั้น
ข้อเสียคือถ้าหุ้นมันลงไม่ขึ้นเขาจะถืออยู่อย่างนั้นตลอดไป

Case B
อุปนิสัยแบบนักเก็งกำไร
ถ้าหุ้นเริ่มลงเขาจะทำการ cutloss และรอซื้อกลับ และจะขายเมื่อกำไรเท่านั้น
DSM น่าจะจัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้

Case C
เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่สุด
เขามักจะซื้อเพิ่มเวลาหุ้นเริ่มตก แต่มักจะขายขาดทุนเมื่อหุ้นมันตกลงมามาก ๆ และกลับเข้าซื้อเวลามันวิ่งขึ้นไป
กลุ่มนี้เสี่ยงต่อการขาดทุนมากที่สุด น่าเสียดาย ที่ผมพบกับกลุ่มตัวอย่างนี้บ่อยมาก :)

เดี๋ยวตอนต่อไปเรามาดูแนวคิดของฝ่ายอื่นกันบ้างครับ

Share

Leave a comment